การบริหารความเสี่ยง

การบริหาร
ความเสี่ยง

ความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและ
มีประสิทธิภาพภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการเสริมสร้างเสถียรภาพของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
ความสามารถในการบริหารจัดการ
ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพภายใต้บริบทการ
เปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญใน
การเสริมสร้างเสถียรภาพของการ
ดำเนินธุรกิจในระยะยาว

การกำกับดูแลความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ โดยมีโครงสร้างการบริหารและกำกับดูแลความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกันทุกระดับตั้งแต่ระดับกรรมการ ระดับจัดการ และระดับปฏิบัติการ โดยคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ให้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ และระบบการควบคุมและติดตาม ตลอดจนดูแลให้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ มีกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ (Risk Governance Framework) และปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง (Risk Culture) ขณะที่คณะกรรมการชุดย่อย ทำหน้าที่กำกับดูแล สนับสนุน และสอบทานให้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ มีแนวนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสม ครอบคลุมความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ โดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงขับเคลื่อนการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งกลุ่มเอสซีบี เอกซ์

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ผ่านการทบทวนความเสี่ยงและระดับความเสี่ยง การวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและการทดสอบภาวะวิกฤต การกำหนดแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและจัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจำ ตลอดจนการตรวจสอบกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

การระบุประเภทความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ ระบุความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญและทบทวนการดำเนินงานและแผนกลยุทธ์สำหรับกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ เป็นประจำ เพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ที่อาจมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์

การประเมินและวัดความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ วัดและประเมินความเสี่ยง เพื่อระบุโอกาสการเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงและผลกระทบจากความเสี่ยงในการดำเนินงาน โดยใช้วิธีทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ อีกทั้งจัดให้มีการทดสอบภาวะวิกฤต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงเชิงลึก

การติดตามและควบคุมความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ รวมทั้งตัวชี้วัดความเสี่ยงและเพดานความเสี่ยง เพื่อใช้ในการควบคุมและติดตามความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ พร้อมทั้งกำหนดแผนจัดการและบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ

รายละเอียดความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก รายงานประจำปี ของเอสซีบี เอกซ์

การระบุประเภทความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ ระบุความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญและทบทวนการดำเนินงานและแผนกลยุทธ์สำหรับกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ เป็นประจำ เพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ที่อาจมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์

การประเมินและวัดความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ วัดและประเมินความเสี่ยง เพื่อระบุโอกาสการเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงและผลกระทบจากความเสี่ยงในการดำเนินงาน โดยใช้วิธีทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ อีกทั้งจัดให้มีการทดสอบภาวะวิกฤต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงเชิงลึก

การติดตามและควบคุมความเสี่ยง

เอสซีบี เอกซ์ กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ รวมทั้งตัวชี้วัดความเสี่ยงและเพดานความเสี่ยง เพื่อใช้ในการควบคุมและติดตามความเสี่ยงที่มีนัย สำคัญ พร้อมทั้งกำหนดแผนจัดการและบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ
  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
  • ความเสี่ยงด้านเครดิต
  • ความเสี่ยงด้านการลงทุน
  • ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
  • ความเสี่ยงด้านการตลาด
  • ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน
  • ความเสี่ยงด้านกฎหมายและการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
  • ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
  • ความเสี่ยงด้านบุคคล
  • ความเสี่ยงด้านแบบจำลองและปัญญาประดิษฐ์
  • ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่

ด้วยบริบทในการดำเนินธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอกที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเหตุการณ์ความไม่สงบ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย การโจมตีทางไซเบอร์ โรคระบาด และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน เอสซีบี เอกซ์ จึงบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านี้อย่างต่อเนื่องผ่านการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและการทดสอบภาวะวิกฤต ตลอดจนกำหนดแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและจัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจำ โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรที่มีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

เอสซีบี เอกซ์ พิจารณาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากวิวัฒนาการของเหตุการณ์หรือปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจและโมเดลธุรกิจของบริษัทต้องหยุดชะงักในระยะกลางถึงระยะยาว

การประมวลผลเชิงควอนตัม

อาชญากรรมทางไซเบอร์ การก่อการร้ายจากไซเบอร์ และกิจกรรมที่รัฐสนับสนุน

การปลูกฝังวัฒนธรรมความเสี่ยง

ด้วยตระหนักดีว่าการบริหารความเสี่ยงถือเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในองค์กร กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ จึงส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานบนฐานความรู้ ความเข้าใจ และความรับผิดชอบร่วมกัน ผ่านระบบการบริหารจัดการองค์กรและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อให้วัฒนธรรมความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง

แนวทางป้องกัน 3 ชั้น

ผลักดันแนวทาง ‘ความรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมที่ดีตามแนวทางป้องกัน 3 ระดับ’ ให้แก่หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงาน (First Line) หน่วยงานสนับสนุน (Second Line) และหน่วยงานตรวจสอบ (Third Line) ครอบคลุมการประเมินความเสี่ยง การกำหนดมาตรการควบคุม ตลอดจนการติดตามและประเมินผล

การสร้างความตระหนักรู้
การรายงานความเสี่ยง

จัดให้มีช่องทางการให้ข้อมูลหรือแจ้งเหตุการณ์ความเสี่ยงผ่านช่องทาง Whistleblower โดยหน่วยงานตรวจสอบภายใน/ หน่วยงาน People หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่บริหาร จัดการ รวบรวม คัดกรอง ตรวจสอบข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่ได้รับ หากพบว่ามีข้อมูลความจริงจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของบริษัท และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบทุกไตรมาส โดยบริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ รวมถึงจะให้ความคุ้มครองอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

Explore
Strengthened Foundation

ทำความรู้จัก รากฐานความยั่งยืนที่แข็งแรง

Explore
Strengthened
Foundation

ทำความรู้จัก รากฐานความยั่งยืน
ที่แข็งแรง

Explore
Strengthened Foundation

Get to know the strong foundation of sustainability

Explore
Strengthened
Foundation

Get to know the strong
foundation of sustainability

  • การกำกับดูแลกิจการ

  • การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

  • สร้างขีดความสามารถใหม่ ๆ และบุคลากรที่มีศักยภาพ

  • มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่น่าชื่นชม ที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด

  • กำหนดรูปแบบการดำเนินงาน และการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ